รถยนต์ไฮบริดคืออะไร
รถยนต์ไฮบริด หรือเครื่องยนต์ไฮบริด โดยจะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการประหยัดเงินในกระเป๋า แต่มีหลายคนยังสับสน และไม่ค่อยเข้าใจว่า ไฮบริด คืออะไร? มีคำตอบที่นี่
โตโยต้า พรีอุส รถยนต์รุ่นแรกของโลกที่นำระบบไฮบริดมาใช้ในเชิงพาณิชย์
ลองมาทำความรู้จักกับพลังขับเคลื่อนรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ยังอยู่บนพื้นฐานเดียวกับรถยนต์ทั่วไป แต่เป็นจุดลงตัวทั้งในเรื่องความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง มลพิษ และมีสมรรถนะ ไม่ได้ด้อยกว่ารถยนต์ทั่วไปที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเลย…และถึงตอนนี้ รถยนต์ไฮบริดก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเกินไป
จุดเริ่มต้นแห่งเทคโนโลยีทันสมัยถ้าแปลกันตรงๆ แล้ว ไฮบริด เอ็นจิน (HYBRID ENGINE) ก็คือขุมพลังลูกผสม ส่วนจะเป็นการจับคู่ระหว่างอะไรกับอะไร……นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและกลายเป็นมาตรฐาน ในการจำกัดความของเครื่องยนต์ไฮบริด คือเป็นการทำงานร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน (เบนซินหรือดีเซล) กับมอเตอร์ไฟฟ้า ในการช่วยส่งกำลังขับเคลื่อนให้กับตัวรถ
โตโยต้าถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลก ที่สามารถนำเทคโนโลยีไฮบริดมาใช้ในการผลิตเชิงพาณิชย์ หรือ MASS PRODUCTION กับการเปิดตัวรุ่นพรีอุสในปี 1997 ก่อนที่ฮอนด้าจะส่งรุ่นอินไซต์ ตามออกมาประกบในปี 1999 หลังจากนั้น ตลาดกลุ่มนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีรุ่นใหม่ๆ ถูกส่งออกมาขาย โดยมีโตโยต้าและฮอนด้าเป็น 2 ค่ายหลักที่ทำตลาด
สิ่งที่ทำให้ระบบไฮบริดได้รับความนิยมก็คือ ความที่ไม่แตกต่างจากเครื่องยนต์แบบเดิมๆ มากจนเกินไป เพราะส่วนประกอบพื้นฐานของระบบไฮบริด ยังต้องใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นระบบหลักของการขับเคลื่อน แต่มีมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่เสริมการทำงาน และแบตเตอรี่สำหรับเก็บกระแสไฟฟ้าเพิ่มเข้ามา รถยนต์ไฮบริดยังต้องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนกับรถยนต์ทั่วไป แต่จากการที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาช่วยทำงาน ทำให้ประหยัดน้ำมันขึ้น และมีระบบที่เข้ามาช่วยให้มีค่าลดมลพิษในไอเสียต่ำลง
รูปแบบการทำงานของระบบไฮบริดแบบซีรีส์อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฮบริดน่าจะได้รับความนิยมในวงกว้างมากกว่านี้ หากในช่วงแรกที่ถูกเปิดตัวออกมา เป็นการนำระบบไฮบริดมาติดตั้งกับรถยนต์ที่มีขายอยู่ ไม่ใช่พัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งคันเหมือนอย่างในช่วงแรก เพราะนั่นทำให้ทั้งพริอุสและอินไซต์ มีราคาแพงจนคนที่นั่งคิดและวิตกเรื่องค่าน้ำมัน ไม่สามารถเอื้อมมือไปซื้อได้ และกลายเป็นของเล่นเศรษฐีไปโดยปริยาย จนกระทั่งฮอนด้าเปิดตลาดด้วยการนำมาวางในรถยนต์ที่มีขายอยู่ในตลาด นั่นก็คือรุ่นซีวิค จึงทำให้รถยนต์ไฮบริดเริ่มเป็นสิ่งที่คนส่วนมากสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ในตอนนี้ไม่ได้มีแค่ 2 บิ๊ก จากแดนปลาดิบเท่านั้นผูกขาดในตลาด ฟอร์ดและจีเอ็มก็พัฒนารถยนต์ไฮบริดออกมาขาย โดยใช้พื้นฐานของเอสเคปและซิลเวอราโด ซึ่งเป็นเอสยูวีและปิกอัพที่มีขายอยู่ในตลาด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายค่ายที่ได้เปิดตัวรถต้นแบบออกมาแต่ยังไม่ขาย อย่างค่ายมาสด้าที่เตรียมจะนำระบบไฮบริดมาใช้ในเอสยูวีรุ่นทริบิวต์ ขณะที่ค่ายนิสสัน บีเอ็มดับเบิลยู และเดมเลอร์ไครสเลอร์ ก็เตรียมโดดลงเล่นในตลาดนี้เช่นกัน
แบบพาราลเรลไฮบริดทำงานกันอย่างไร?แม้ว่าระบบไฮบริดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีพื้นฐานของการจับคู่ระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายในกับมอเตอร์ไฟฟ้า แต่จริงๆ แล้ว หลักการทำงานแตกต่างกัน และแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
– ซีรีส์ ไฮบริด (SERIES HYBRID) ซึ่งกำลังขับเคลื่อนหลักมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ทำหน้าที่ปั่นตัวชาร์จกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งมาเก็บในแบตเตอรี่ และมอเตอร์ไฟฟ้าก็ใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มาขับเคลื่อนตัวรถ
– แบบซีรีส์/พาราลเรล- พาราลเรล (PARALLEL HYBRID) ทั้งเครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อนตัวรถ โดยกำลังที่ถูกส่งออกมาจะผันแปรไปตามสภาพการขับขี่ และในระบบนี้ มอเตอร์ไฟฟ้าจะไม่สามารถขับเคลื่อนตัวรถเพียงอย่างเดียว แต่มีหน้าที่แค่เสริมการขับเคลื่อนให้เครื่องยนต์ และชาร์จกระแสไฟฟ้า เข้าไปเก็บในแบตเตอรี่
– ซีรีส์/พาราลเรล (SERIES/PARALLEL HYBRID) เป็นรูปแบบที่ผสมจุดเด่นของทั้ง 2 แบบเข้าด้วยกัน และเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในรถยนต์ไฮบริดรุ่นปัจจุบัน มอเตอร์ไฟฟ้า (ช่วงความเร็วต่ำจนถึงปานกลาง) และเครื่องยนต์สามารถขับเคลื่อนได้เพียงลำพัง (ความเร็วสูง) หรือทั้ง 2 จะผสานการทำงานในการขับเคลื่อนก็ได้ (เร่งแซง) เพื่อประโยชน์สูงสุดในด้านความประหยัดน้ำมันและสมรรถนะในการขับขี่